เมนู

อรรถกถาอุททกสูตรที่ 10


ในอุททกสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ศัพท์ว่า สุทํ ในบทว่า อุทโก สุทํ นี้ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า
อุทโก เป็นชื่อของสูตรนั้น. บทว่า อิทํ ในบทว่า อิทํ ชาตุ เวทคู นี้
เป็นเพียงนิบาต. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อทรงแสดงว่า ท่านจงฟังคำของเรานี้
จึงได้ตรัสอย่างนั้น. บทว่า ชาตุ เวทคู ความว่า เราจบเวทโดยส่วนเดียว
อธิบายว่า ไปในเวไนยสัตว์ ด้วยญาณกล่าวคือ เวท หรือถึง คือ บรรลุเวท
เป็นบัณฑิต. ด้วยบทว่า ปพฺพชิ ตรัสว่า เรารู้ ครอบงำ วัฏฏะทั้งปวง
แล้วชนะโดยส่วนเดียว. บทว่า อปลิขตํ คณฺฑมูลํ ได้แก่ รากทุกข์
ยังไม่ได้ขุด. ด้วยบทว่า ปริขณึ ทรงแสดงว่า เราขุดรากทุกข์ที่ขุดแล้ว
ตั้งอยู่.
บทว่า มาตาเปตฺติกสมฺภวสฺส ได้แก่ เกิดด้วยเลือดสุกกะ (ขาว)
ซึ่งแบ่งจากมารดาและบิดา คือ ของมารดาบิดา. บทว่า โอทนกุมฺมาสูป-
จยสฺส
ได้แก่ ก่อสร้างด้วยข้าวสุกและขนมสด. ในบทว่า อนิจฺจุจฺฉาทน-
ปริมทฺทนเภทนวิทฺธํสนธมฺมสฺส
นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
กายนี้ ชื่อว่า มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา เพราะมีแล้วกลับไม่มี
ชื่อว่า อบเป็นธรรมดา เพราะลูบไล้ด้วยของหอม เพื่อประโยชน์แก่การ
กำจัดกลิ่นเหม็น, ชื่อว่า มีการอาบนวดเป็นธรรมดา เพราะใช้น้ำและนวด
เพื่อประโยชน์จะบรรเทาความเจ็บปวดอวัยวะน้อยใหญ่. อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อว่า มีการประคบประหงมเป็นธรรมดา โดยหยอดยาตาการดัดเป็นต้น
เพื่อความสมบูรณ์แก่ทรวดทรงแห่งอวัยวะนั้น ๆ ที่ทรวดทรงไม่ดี เพราะอยู่
ในครรภ์ คลอดแล้วก็ให้อยู่ที่ระหว่างขาเวลาเป็นทารก.

กาย แม้เขาบริหารอย่างนี้ ก็แตกกายกระจัดกระจายเป็นธรรมดา
เพราะเหตุนั้นกายจึงต้องแตกและเรี่ยรายไป อธิบายว่า มีสภาวะเป็นอย่าง
นั้น. ในพระสูตรนั้น ตรัสถึงความเจริญด้วยบทว่า กาย เกิดแต่มารดาบิดา
การเติบโตด้วย ข้าวสุกและขนมสด และการประคบประหงม. ตรัสถึง
ความเสื่อมด้วยบทว่าไม่เที่ยง แตก และการกระจัดกระจาย อีกอย่างหนึ่ง
ตรัสการเกิดขึ้นด้วยบทก่อน ๆ และการดับไปด้วยบทหลัง ๆ. ทรงแสดง
ความต่างแห่งการเจริญ การเสื่อมและการบังเกิดแห่งกาย ซึ่งประชุมด้วย
มหาภูตรูป 4 ด้วยประการฉะนี้. คำที่เหลือมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
จบ อรรถกถาอุททกสูตรที่ 10

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ปฐมสังคัยหสูตร 2. ทุติยสังคัยหสูตร 3. ปริหานสูตร
4. ปมาทวิหารสูตร 5. สังวรสูตร 6. สมาธิสูตร 7 ปฏิสัลลีนสูตร
8. ปฐมนตุมหากสูตร 9. ทุติยนตุมหากสูตร 10. อุททกสูตร

รวมวรรคที่มีในทุติยปัณณาสก์ คือ


1. อวิชชาวรรค 2. มิคชาลวรรค 3. คิลานวรรค 4. ฉันนวรรค
5. ฉฬวรรค.
จบ ฉฬวรรคที่ 5
จบ ทุติยปัณณาสก์